ความปลอดภัยของการขับขี่เป็นเรื่องที่สำคํญ ทำให้การเลือกซื้อยางรถยนต์เป็นสิ่งที่เจ้าของรถทุกคนให้ความสำคัญมาก เนื่องจากยางคือสิ่งที่ต้องสัมผัสกับพื้นถนนอยู่ตลอดเวลา การยึดเกาะถนนการทนทานต่อความร้อนและแรงเสียดทานเป็นสิ่งที่สำคัญต่อความปลอดภัยในการเดินทางอย่างไรก็ดี หลายคนก็ยังมีความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการเลือกซื้อยางอยู่ เพราะได้รับฟังหรือได้อ่านเรื่องราวความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอายุการผลิตยาง จนทำให้เจ้าของรถจำนวนไม่น้อย คำนึงถึงวันผลิตที่ติดอยู่บนแก้มยางหรือ DOT มากจนเกินความจำเป็น
แท้จริงแล้วการเลือกซื้อยางที่ถูกต้องควรเลือกซื้อยางที่มีขนาดที่ถูกต้อง เหมาะกับประเภทของรถ การใช้งาน คุณภาพ และควรให้ความใส่ใจการดูแลรักษายาง
ผลการศึกษาวิจัยจากหน่วยงานรัฐบาล และบริษัทชั้นนำ พบว่า แท้จริงแล้ววันผลิตของยางไม่มีผลกับสมรรถภาพของยางที่หลายคนเข้าใจ เพราะโดยปกติยางที่ผลิตออกมานั้น เมื่อมีการเก็บที่ดีพอ เช่นเก็บรักษาในอูณภูมิที่เหมาะสม และยังไม่ได้เริ่มใช้งาน ก็สามารถเก็บยางเส้นนั้นๆได้เป็นเวลาหลายปีโดยไม่เสื่อมสภาพก่อนหน้านี้เมื่อปี 2550 กรมทรัพยากรอุตสาหกรรมของประเทศเกาหลีได้เคยออกเอกสารที่มีข้อความที่ไม่ถูกต้อง
โดยระบุว่ายางที่ผลิตนานกว่าหนึ่งปี อาจส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ได้ แต่ท้ายที่สุด ความเชื่อที่คลาดเคลื่อนนี้ก็ได้ลบล้างไป หลังกรมคุ้มคลองผู้บริโภคของประเทศเกาหลีใต้ จัดการทดสอบเพื่อพิสูจน์ระดับความปลอดภัยในการใช้ยางระหว่างยางใหม่ และยางที่ผลิตย้อนหลังไปสามปีระหว่างปี 2548-2550 โดยได้สรุปบทว่า แม้วันที่ผลิตแตกต่างกัน แต่ประสิทธิภาพและสมรรถนะของยางเหมือนกันทุกประการ
กระทรวงคมนาคมของสหรัฐ ยังเคยตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพของยางที่มีการเติมลมแล้ว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 โดยระบุว่า ความร้อนที่เกิดขึ้นขณะที่ยางมีการใช้งาน คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยางเสื่อมสภาพยางรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถทำให้เกิดอุณภูมิที่หน้ายางสูงขึ้นถึง 75 องศาเซลเซียส แต่หากความตันในลมยางน้อยกว่าปกติ ( เช่น ยางแบน) ก็จะยิ่งทำให้ความร้อนหน้ายางสูงมากกว่าที่ควารจะเป็นด้วย
ดังนั้น อุณภมิในโกดังที่จัดเก็บยางรถยนต์ก่อนการใช้งานจริง จึงมีผลต่อคุณภาพของเนื้อยางเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับความร้อนที่เกิดจากแรงเสียดสีเมื่อนำยางไปใช้ในการขับขี่จริง เพราะโดยทั่วไปนั้น ยางที่ไม่ถูกนำไปใช้งาน สามารถเก็บได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีก่อนการใช้งานจริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาจากคำแนะนำของ บริษัทผู้ผลิต
ขณะที่องค์กรเอดีเอชี หน่วยงานเพื่อผู้ขับขี่รถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนีก็มีการดำเนินการพิสูจน์เรื่องสมรรถนะของยางเอาไว้ในเดือนมิถุนายน 2553 โดยทดสอบประสิทธิภาพยางรถยนต์ที่ผลิตในปี 2550และ 2547 สำหรับการขับขี่ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน ชึ่งผลการทดสอบก็ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า ยางที่ผลิตใหม่จะมีสมรรถนะเหนือกว่ายางที่ผลิตมานานกว่า
ส่วนที่ประเทศไทยนั้น คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับทียูวี ไรน์แลนด์ กรุ๊ปบริษัทที่ทำหน้าที่ทดสอบและให้การรับรองคุณภาพแก่ผลิตภัณฑ์และสินค้าของบริษัทชั้นนำทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเยอรมนีทำการทดสอบเพื่อหาข้อพิสูจน์ว่า ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทยนั้น สมรรถนะของยางที่ผลิตใหม่กับยางที่ผลิตมานานกว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยหรือไม่
ในการทดสอบดังกล่าว ได้มีการนำยางรถยนต์ที่มีวันผลิตต่างกันหนึ่งปี ไปทดสอบการใช้งาน โดยการขับขี่ด้วยความเร็วสูงที่ 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระยะเวลาที่ต่อเนื่องนาน 60 นาที ผลที่ได้จากการทดสอบพบว่ามีความแตกต่างกันไม่เกิน 1% ทั้งยังมีความสามารถในการบรรทุกหนักและวิ่งเป็นระยะทางไกลตลอดจนความแข็งแรงของหน้ายางและโครงสร้างไม่แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่วันผลิตยางนั้นห่างกันถึงหนึ่งปี เช่นเดียวกับผลทดสอบความสามารถในการยึดเกาะถนน ที่ให้ผลลัพธ์ไม่แตกต่างกันนัก
นายชูเดช ตีประเสริฐกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ว่ายางที่มีวันที่ผลิตต่างกันสองถึงสามปี จะให้สมรรถนะในระดับที่ไม่แตกต่างกันนัก แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการเก็บรักษายางในร้านด้วยว่ามีการควบคุมอุณภูมิและความชื้นที่เหมาะสมรวมทั้งไม่โดนแดด เพราะอาจจะทำให้หน้ายางมีความยืดหยุ่นน้อยลงและแข็งขึ้น ดังนั้นการเลือกซื้อยางในร้านที่เชื่อถือได้จึงมีความสำคัญแทนที่จะคำนึงเรื่องวันเดือนปีที่ผลิตเป็นหลัก
แท้จริงแล้วการเลือกซื้อยางที่ถูกต้องควรเลือกซื้อยางที่มีขนาดที่ถูกต้อง เหมาะกับประเภทของรถ การใช้งาน คุณภาพ และควรให้ความใส่ใจการดูแลรักษายาง
ผลการศึกษาวิจัยจากหน่วยงานรัฐบาล และบริษัทชั้นนำ พบว่า แท้จริงแล้ววันผลิตของยางไม่มีผลกับสมรรถภาพของยางที่หลายคนเข้าใจ เพราะโดยปกติยางที่ผลิตออกมานั้น เมื่อมีการเก็บที่ดีพอ เช่นเก็บรักษาในอูณภูมิที่เหมาะสม และยังไม่ได้เริ่มใช้งาน ก็สามารถเก็บยางเส้นนั้นๆได้เป็นเวลาหลายปีโดยไม่เสื่อมสภาพก่อนหน้านี้เมื่อปี 2550 กรมทรัพยากรอุตสาหกรรมของประเทศเกาหลีได้เคยออกเอกสารที่มีข้อความที่ไม่ถูกต้อง
โดยระบุว่ายางที่ผลิตนานกว่าหนึ่งปี อาจส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ได้ แต่ท้ายที่สุด ความเชื่อที่คลาดเคลื่อนนี้ก็ได้ลบล้างไป หลังกรมคุ้มคลองผู้บริโภคของประเทศเกาหลีใต้ จัดการทดสอบเพื่อพิสูจน์ระดับความปลอดภัยในการใช้ยางระหว่างยางใหม่ และยางที่ผลิตย้อนหลังไปสามปีระหว่างปี 2548-2550 โดยได้สรุปบทว่า แม้วันที่ผลิตแตกต่างกัน แต่ประสิทธิภาพและสมรรถนะของยางเหมือนกันทุกประการ
กระทรวงคมนาคมของสหรัฐ ยังเคยตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพของยางที่มีการเติมลมแล้ว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 โดยระบุว่า ความร้อนที่เกิดขึ้นขณะที่ยางมีการใช้งาน คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยางเสื่อมสภาพยางรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถทำให้เกิดอุณภูมิที่หน้ายางสูงขึ้นถึง 75 องศาเซลเซียส แต่หากความตันในลมยางน้อยกว่าปกติ ( เช่น ยางแบน) ก็จะยิ่งทำให้ความร้อนหน้ายางสูงมากกว่าที่ควารจะเป็นด้วย
ดังนั้น อุณภมิในโกดังที่จัดเก็บยางรถยนต์ก่อนการใช้งานจริง จึงมีผลต่อคุณภาพของเนื้อยางเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับความร้อนที่เกิดจากแรงเสียดสีเมื่อนำยางไปใช้ในการขับขี่จริง เพราะโดยทั่วไปนั้น ยางที่ไม่ถูกนำไปใช้งาน สามารถเก็บได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีก่อนการใช้งานจริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาจากคำแนะนำของ บริษัทผู้ผลิต
ขณะที่องค์กรเอดีเอชี หน่วยงานเพื่อผู้ขับขี่รถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนีก็มีการดำเนินการพิสูจน์เรื่องสมรรถนะของยางเอาไว้ในเดือนมิถุนายน 2553 โดยทดสอบประสิทธิภาพยางรถยนต์ที่ผลิตในปี 2550และ 2547 สำหรับการขับขี่ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน ชึ่งผลการทดสอบก็ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า ยางที่ผลิตใหม่จะมีสมรรถนะเหนือกว่ายางที่ผลิตมานานกว่า
ส่วนที่ประเทศไทยนั้น คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับทียูวี ไรน์แลนด์ กรุ๊ปบริษัทที่ทำหน้าที่ทดสอบและให้การรับรองคุณภาพแก่ผลิตภัณฑ์และสินค้าของบริษัทชั้นนำทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเยอรมนีทำการทดสอบเพื่อหาข้อพิสูจน์ว่า ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทยนั้น สมรรถนะของยางที่ผลิตใหม่กับยางที่ผลิตมานานกว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยหรือไม่
ในการทดสอบดังกล่าว ได้มีการนำยางรถยนต์ที่มีวันผลิตต่างกันหนึ่งปี ไปทดสอบการใช้งาน โดยการขับขี่ด้วยความเร็วสูงที่ 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระยะเวลาที่ต่อเนื่องนาน 60 นาที ผลที่ได้จากการทดสอบพบว่ามีความแตกต่างกันไม่เกิน 1% ทั้งยังมีความสามารถในการบรรทุกหนักและวิ่งเป็นระยะทางไกลตลอดจนความแข็งแรงของหน้ายางและโครงสร้างไม่แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่วันผลิตยางนั้นห่างกันถึงหนึ่งปี เช่นเดียวกับผลทดสอบความสามารถในการยึดเกาะถนน ที่ให้ผลลัพธ์ไม่แตกต่างกันนัก
นายชูเดช ตีประเสริฐกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ว่ายางที่มีวันที่ผลิตต่างกันสองถึงสามปี จะให้สมรรถนะในระดับที่ไม่แตกต่างกันนัก แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการเก็บรักษายางในร้านด้วยว่ามีการควบคุมอุณภูมิและความชื้นที่เหมาะสมรวมทั้งไม่โดนแดด เพราะอาจจะทำให้หน้ายางมีความยืดหยุ่นน้อยลงและแข็งขึ้น ดังนั้นการเลือกซื้อยางในร้านที่เชื่อถือได้จึงมีความสำคัญแทนที่จะคำนึงเรื่องวันเดือนปีที่ผลิตเป็นหลัก
No comments:
Post a Comment